รู้ลึกรู้จริง!!! สร้างห้องเย็น อย่างไรให้คุ้มค่าเงินลงทุน
ห้องเย็น คือ การก่อสร้างห้องด้วยแผ่นฉนวนสำเร็จรูป ทั้งผนัง ฝ้าเพดาน หลังคา และบานประตู รวมถึงการออกแบบระบบทำความเย็น ติดตั้งเครื่องทำความเย็นและดวงไฟเพื่อให้แสงสว่างจำนวนมาก ซึ่งมีการลากสายไฟไว้บนฝ้าและเจาะทะลุฝ้าลงมาในห้องเย็น ดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องปกติ แต่รู้หรือไม่ว่าหากมีหลอดไฟเพียงแค่ดวงเดียวที่สปาร์คจนเกิดประกายไฟ ก็อาจทำให้เกิด “ไฟฟ้าลัดวงจร” เสี่ยง! กระแสไฟฟ้ารั่วและอัคคีภัยโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นการออกแบบระบบห้องเย็นและใช้แผ่นฉนวนห้องเย็นที่ดี จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงเรื่องอัคคีภัยได้
1. การเลือกใช้ผนังห้องเย็น Sandwich Panel
ห้องเย็น ไฟไหม้ได้จริงหรือ? โรงงงานอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงโรงงานยา เครื่องสำอาง โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ หัวฉีดยานยนต์ หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ผนังปูนไม่ได้ เพราะมีฝุ่น ไม่สะอาดและไม่กักเก็บความเย็น ต้องใช้ผนังกันความร้อนแบบ Sandwich Panel คือ มีแผ่นเหล็กสองด้านและมีฉนวนโฟมตรงกลาง ซึ่งแผ่นฉนวนแบบเก่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ EPS Foam และ PU Foam หรือ PIR ปลอมที่มีค่า Index น้อยกว่า 350
การสร้าง ” ห้องเย็น ” ด้วยแผ่นฉนวน EPS Foam
หรือ PU Foam หรือ PIR ปลอม ที่มีค่า Index น้อยกว่า 350
ไม่ต่างอะไรกับการใช้ตัวโรงงานเป็นเชื้อเพลิง
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทยถือเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ไลน์ผลิต ล้วนมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานเป็นจำนวนมาก ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร คือ ชีวิตของพนักงาน ผู้ประกอบการโรงงานต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการปกป้องชีวิตของพนักงานทุกคน ยังไม่รวมถึงทรัพย์สินต่างๆ เช่นอุปกรณ์ในการทำงานและเครื่องจักรราคาแพง เพราะหากเกิดอัคคีภัยขึ้นมาได้ไม่คุ้มเสียแน่นอน
แผ่นฉนวนสำเร็จรูป FIWall i370 กันไฟ ไร้ควัน
PIR แท้ๆ ที่มีค่า Index มากกว่า 350 เจ้าแรกในประเทศไทย
Wall Tech ใช้พอลิไอโซไซยานูเรต (PIR, พีไออาร์) ที่มี Index มากกว่า 350 ทำให้แผ่นฉนวนสำเร็จรูป PIR FIWall i370 ไม่เพียงมีค่าความเป็นฉนวนสูงเท่านั้น แต่ยังกันไฟได้อย่างดีและมีควันน้อย แตกต่างจากแผ่นฉนวนสำเร็จรูป EPS Foam (Expanded Polystyrene Foam) และ PU Foam (Polyurethane Foam) ซึ่งเก็บความเย็นได้แย่กว่า อายุการใช้งานสั้นกว่า แถมยังมีความเสี่ยงเรื่องไฟไหม้ เมื่อเกิดอัคคีภัยจะมีควันดำเยอะมาก และคนมักจะเสียชีวิตเพราะควันไฟมากกว่า
โรงงานในประเทศไทยมากกว่า 80% ยังคงใช้ฉนวนกันความร้อนแบบเก่า คือ โฟมขาว EPS Foam (Expanded Polystyrene Foam) และ PU Foam (Polyurethane Foam) ขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในแถบยุโรปและอเมริกา เลิกใช้ผนังห้องเย็น EPS Foam และ PU Foam เนื่องจากมีความเสี่ยงจากเกิดอัคคีภัย และเปลี่ยนมาใช้ผนังห้องเย็น PIR แท้ๆ มาซักระยะนึงแล้ว เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า ยังคุ้มค่าการลงทุนมากยิ่งขึ้นในมิติความปลอดภัยและความเสี่ยงไฟไหม้ แต่ในเมืองไทยยังไม่นิยม เพราะติดภาพว่าต้องนำเข้าและมีราคาแพง
Wall Tech ทุ่มลงทุนนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเยอรมนี ผลิตแผ่นฉนวนคุณภาพสูง FIWall i370 PIR แท้ๆ by Wall Tech จึงเป็นแผ่นฉนวนเจ้าแรกในตลาดที่เป็น PIR แท้ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อการกันไฟโดยเฉพาะกันไฟได้ มีควันน้อย ผสานระบบล็อกแผ่นฉนวน ZIP-LOCK ทรงพลัง ที่ใช้เหล็กยาวถึง 9 ซม. เพื่อให้ได้ระบบล็อกที่ทรงประสิทธิภาพ รูปทรง Z เป็นระบบ Lock ที่แข็งแรง และทนต่อแรงปะทะมากที่สุด
แผ่นฉนวนดูดซับน้ำต่ำทำให้ยืดอายุการใช้งานของแผ่นผนังประหยัดพลังงานไฟฟ้าและยังมีราคาถูกกว่า PIR นำเข้าถึง 40 คำตอบของการลดความเสี่ยงอัคคีภัยที่อาจเกิดกับโรงงานได้ ลงทุนสูงกว่า แต่คุ้มค่าแน่นอน เพราะอย่างที่บอกว่า โจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว
2. เคล็ด(ไม่)ลับ การเลือกความหนาผนังห้องเย็น
โดยทั่วไปเรามักเลือกความหนาแผ่นผนังฉนวนจากการคำนวณค่าการต้านทานความร้อนของฉนวน (R-Value) เท่านั้น
แต่จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการอาจยังไม่ทราบ
เคล็ดลับที่ 1 “จุดคุ้มทุน” ระหว่างค่าแผ่นผนังฉนวน กับ ค่าไฟที่เกิดขึ้นตลอดอายุการใช้งาน
ในการสร้างห้องเย็นเรามักจะสนใจแต่ราคาของแผ่นผนังฉนวนกันความร้อน Sandwich Panel เป็นหลัก แต่ค่าใช้จ่ายที่แอบซ่อนอยู่คือ “ค่าไฟ” ที่ต้องเกิดขึ้นทุกเดือนเป็นปีๆ นั้นสำคัญกว่า โดยความหนาของแผ่นผนังฉนวนตามสูตรคำนวณ R-Value ที่คำนวณได้ เป็นแค่ความหนาแผ่นผนังฉนวนขั้นต่ำที่ห้องเย็นต้องการเท่านั้น
จริงอยู่ที่เราเพิ่มความหนาแผ่นผนังฉนวนแล้วยิ่งประหยัดค่าไฟได้ แต่ก็มีต้นทุนค่าแผ่นผนังเพิ่มขึ้น ซึ่งคิดค่าใช้จ่ายโดยรวมแล้วไม่คุ้ม เคล็ดลับคือ คำนวณหา “จุดคุ้มทุน” ระหว่างค่าแผ่นผนังที่เพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกับ ค่าไฟฟ้าที่ลดลงได้ตลอดอายุการใช้งาน และพื้นที่ที่เสียไปเนื่องจากความหนาของแผ่นฉนวนนั่นเอง
เพียงแค่นี้คุณก็จะได้แผ่นผนังฉนวนห้องเย็นที่คุ้มค่าการลงทุนสูงสุด เราได้สรุปตารางความหนาแผ่นผนังฉนวนที่จุดคุ้มทุน แบ่งตามอุณหภูมิการใช้งานห้องเย็นของท่านได้ดังนี้
ตารางความหนาของแผ่นผนังฉนวนที่จุดคุ้มทุน แบ่งตามอุณหภูมิการใช้งานห้องเย็น
เคล็ดลับที่ 2 พิจารณาที่ความสูงของอาคาร และระยะ Span ของแผ่นผนังฉนวน
เราต้องเลือกความหนาของแผ่นผนังฉนวนกันความร้อน Sandwich Panel ให้เหมาะกับระยะ Span ของแผ่นให้สัมพันธ์กับความสูงของอาคาร
เพราะอาคารยิ่งสูง แรงลมและแรงต้านยิ่งสูงขึ้นไปด้วย ไม่เช่นนั้นอาคารของท่านจะถล่มได้ ไม่ปลอดภัย
เคล็ดลับที่ 3 พิจารณาที่จุดอับอากาศ
สภาพแวดล้อมรอบๆ ห้องเย็น หรืออาคารก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกความหนาแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนเช่นกัน เพราะบริเวณรอบๆ ห้องเย็นที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือถ่ายเทได้น้อย เช่น บนหลังฝ้าเพดานเป็นจุดอับอากาศ ทำให้บริเวณนั้นมีความชื้นและความร้อนมากกว่าบริเวณเดียวกันที่มีการระบายอากาศที่ดี ทำให้เราต้องเพิ่มความหนาแผ่นผนังฉนวนให้สอดคล้องกับระดับความชื้นและความร้อนบริเวณนั้น ไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดการ Condensation บนหลังฝ้าและเกิดน้ำขังจำนวนมาก แผ่นผนังฉนวนก็จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าปรกติ และเปลืองค่าไฟโดยไม่รู้ตัว
ดังนั้นก่อนตัดสินใจสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ห้องเย็นสำเร็จรูป ควรศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน ทั้งการออกแบบและติดตั้งระบบห้องเย็นที่ดี รวมถึงเลือกแผ่นฉนวนอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ปรึกษา Wall Tech ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องเย็นจากประสบการณ์กว่า 25 ปี เพื่อให้ธุรกิจของคุณก้าวไปได้ไกลกว่า 20 ปี
สามารถอ่านข้อมูลห้องเย็นเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/2Op0dfH
ปรึกษา-สอบถามฟรี หากท่านต้องการข้อมูลการหาจุดคุ้มทุนโครงการของท่านโดยละเอียด
เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาฟรี ติดต่อได้ที่ Tel.: 02-019-8000 Ext. 100