สร้างคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า อย่างไรให้ยืนหนึ่งในธุรกิจ Logistics ความรู้ดีๆ และเคล็ด(ไม่)ลับที่ผู้ประกอบการ ไม่รู้..ไม่ได้
คลังสินค้า คือ อะไร
คลังสินค้า หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่มีไว้เพื่อใช้ในการพักและเก็บรักษาสินค้าในปริมาณที่มาก กิจกรรมของคลังสินค้าส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบ การจัดเก็บโดยไม่ให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือแตกหักเสียหาย ลักษณะทั่วไปของคลังสินค้าคืออาคารชั้นเดียวมีพื้นที่โล่งกว้างสำหรับเก็บสินค้า มีประตูขนาดใหญ่หลายประตูเพื่อสะดวกในการขนถ่ายสินค้า
วัตถุประสงค์ของคลังสินค้า
- เพื่อทำหน้าที่รักษาระดับสินค้าคงคลังเพื่อสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support)
- เพื่อทำหน้าที่ผสมสินค้า (Product-mixing)
- เพื่อทำหน้าที่รวบรวมสินค้าก่อนจัดส่ง (Consolidation)
- เพื่อทำหน้าที่แยกหีบห่อ (Break-bulk) หรือทำหน้าที่เป็นศูนย์กระจายสินค้า (Cross dock)
ประโยชน์ของคลังสินค้า
- เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการขนส่ง
- พื่อให้เกิดการประหยัดในระบบการผลิต
- เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องการสั่งซื้อในปริมาณมาก
- เพื่อใช้เป็นแหล่งของวัตถุดิบ เพื่อรองรับต่อความไม่แน่นอนของการซื้อวัตถุดิบ
- เพื่อรองรับต่อความไม่แน่นอนของการขาย
- เพื่อให้เกิดการบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ที่ต่ำ
2 ประเภทคลังสินค้า โดยแบ่งตามลักษณะงาน
1. คลังสินค้าสำหรับเก็บรักษาสินค้า
คลังสินค้าชนิดนี้มีหน้าที่หลักในการเก็บรักษาสินค้าซึ่งอาจจะอยู่ในรูป วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป เพื่อทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของฝ่ายผลิต หรือร้านค้าตามลำดับ ดังนั้นการจัดการสินค้าประเภทนี้จะเน้นที่การรักษาสภาพสินค้า และการป้องกันการสูญหายของสินค้าเป็นสำคัญ
2. ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution center, DC)
ศูนย์กระจายสินค้า คือ คลังสินค้าที่ทำหน้าที่ทั้งในฐานะเป็นคลังสินค้า (Warehouse) และเป็นหน่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต (Manufacturer) กับผู้ขายปลีก (Retailers) จะเป็นผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Provider) ในด้านการจัดเก็บสินค้าและการจัดการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปให้กับลูกค้าได้ อย่างทันเวลาและถูกต้องตรงตามความต้องการ
DC ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) หรือ Third Party Logistics Service Providers (3PL) จะทำหน้าที่รับสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายมาเก็บในคลังสินค้าของตน โดยดำเนินการบริหารจัดการในการควบคุมปริมาณด้านเทคโนโลยีในการกระจายและจัด ส่งสินค้าแทนเจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าโดรับผิดชอบงานขนส่งจนสินค้าไป สู่ผู้รับ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้ คือ การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายปลีกหรือลูกค้าแต่ละราย ผู้ผลิตสามารถขนส่งมาที่ DC เพียงแห่งเดียว
โดย DC จะทำการกระจายสินค้าสู่ผู้ขายปลีกตามความถี่ที่ผู้ขายปลีกต้องการทำให้ไม่จำ เป็นต้องมีที่เก็บสินค้าคงคลังจำนวนมากที่ผู้ขายปลีกอีกต่อไป ค่าใช้จ่ายส่วนวัสดุคงคลังของร้านขายปลีกก็ลดลง ทำให้ต้นทุนรวมส่งผลให้มีความได้เปรียบในด้านการแข่งขันทั้งด้านราคาและความ รวดเร็วในการบริการ ในปัจจุบันร้านขายปลีกหลายแห่งจึงสามารถรับประกันราคาต่ำสุดแก่ผู้บริโภคได้
สร้างคลังสินค้านวัตกรรมใหม่! ด้วยแผ่นฉนวนกันความร้อน PIR FIWall i370 ระบบ ZIP-LOCK กันความร้อนเยี่ยม ประหยัดไฟ ความเย็นไม่รั่วไหล ปลอดภัย ด้วยค่าการกันไฟ Index > 350
เลือกลงทุนอย่างคุ้มค่า เลือก PIR แท้ๆ FIWall i370 เพราะ
- เพิ่มพื้นที่การใช้งานได้มากกว่า ด้วยค่าความเป็นฉนวน (k-Value) ดีที่สุด
ทำให้ใช้แผ่นฉนวนขนาดบางกว่าที่อุณหภูมิห้องเท่ากัน - กักเก็บความเย็นเยี่ยมไม่รั่วไหล ป้องกันไฟลาม แข็งแรง ด้วยนวัตกรรมล็อคแผ่นฉนวน ZIP-LOCK ทรงพลัง
- ประหยัดค่าไฟ เพราะมีค่าความเป็นฉนวนกันความร้อน (k-Value) ดีที่สุด
- อายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี เพราะมีค่าดูดซับน้ำ (Water Absorption) ต่ำกว่าฉนวน PS, PU
- ชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัย ด้วยนวัตกรรมใหม่ของแผ่นฉนวนกันความร้อน Sandwich Panel PIR แท้ๆ ที่มีค่า Index > 350
- ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ตั้งแต่ห้องเย็นอุณหภูมิติดลบ ไปจนถึง ห้องอบอุณหภูมิสูง
- Save ต้นทุนได้มากกว่า เพราะราคาแผ่นฉนวนกันไฟ PIR FIWall i370 ต่ำกว่าฉนวน PIR นำเข้าถึง 40%
- ผลิตด้วยเทคโนโลยีล่าสุด เครื่องฉีดโฟมอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง (Fully Automatic Continuous Injection Machine) ที่ยกแพลนท์มาจาก Germany
สนใจสร้างคลังสินค้า (Warehouse) หรือ ห้องเย็นเก็บสินค้า (Cold Storage Warehouse) ให้ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ:
คลังสินค้า Warehouse สะอาด ปลอดภัย กันไฟ ประหยัดพลังงาน มาตรฐาน GMP และ HACCP